พัฒนาการมาจากกลุ่ม วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร นักออกแบบ
จัดสวน ตลอด จนผู้รับเหมา ก่อสร้าง ทุกระบบ ที่มีประสบการณ
์การทำงานกว่า 20 ปี มีจุดมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการก่อสร้างบ้าน
ให้ครอบ คลุมทั่วประเทศ ไทย โดยการใช้ระบบ เครือข่าย
อินเตอร์เนตมาประกอบการปฏิบัติงานซึ่งหมายถึงการทำงานด้าน
เทคนิคทุกด้าน เช่น การออกแบบ , การ ควบคุมงาน ภาคสนาม , การบริหารงานก่อสร้าง,การจัดส่งวัสดุ ตลอดจน การประสาน
งานกับเจ้าของงานผ่านระบบอินเตอร์เนตแทบทั้งสิ้นอันเป็น
ผลทำ ให้การ ดำเนินงาน มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้นตลอดเวลา
>>>>>>>>>>>>>>>>   

สมาชิก
user :
pass :
   
สมัครสมาชิกใหม่ที่นี้
user or password ผิด ";}?>
ยินดีต้อนรับ
คุณ
เมนูส่วนตัว
ดูข้อมูลส่วนตัว
แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
ออกจากระบบ

Menu
เกี่ยวกับเรา
ก่อสร้าง
ซ่อมบ้าน
เปอร์สเปคทีฟ
ตกแต่งภายใน
ควบคุมงาน
ผลงาน
เว็บบอร์ด
ถาม - ตอบ
พันธมิตรธุรกิจ
แบบบ้าน
Auction loan
ให้คำปรึกษา
บทความ
วิจัยและพัฒนา
ห้องสมุด
แผนผังเว็บไซต์
ติดต่อเรา
 

Link
หนังสือพิมพ์
ธนาคาร
ส่วนราชการ

จำนวนผู้เยี่ยมชม

ตั้งแต่ 01/01/2544

ห้องสมุด
 
โครงสร้างของฐานราก

 

ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเสาเข็มที่ใช้และกรรมวิธีในการตอก
ข้อสังเกตในที่นี้จะเน้นกล่าวถึงเฉพาะที่เกี่ยวกับเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง เนื่องจากเป็น เสาเข็มที่ใช้ กันแพร่หลายสำหรับอาคารบ้านเรือนทั่วไป
1. เสาเข็มที่ใช้ควรอยู่ในสภาพที่ดีไม่มีการแตกหักหรือชำรุดมาก่อน ถ้าเป็นไปได้ควร ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( สมอ. ) โดยมี เครื่องหมายรับรองมาตร ฐานอุตสาหกรรม ( มอก. ) ประทับอยู่ และมีการระบุถึงวัน / เดือน / ปี ที่ทำการผลิตว่าผลิตออกมาเมื่อใด ถ้าเป็นไปได้เสาเข็มที่ใช้ควรจะมีอายุการผลิต 4 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะ เสาเข็มที่เพิ่งผลิตออกมาใหม่คอนกรีต ที่ใช้ทำเสาเข็มยังบ่มตัวไม่เข้าที่ ความแข็งแกร่งยัง มีน้อยอาจเกิดการชำรุดหรือแตกหักระหว่างการตอกได้
2. เสาเข็มที่มีขนาดยาวอาจใช้เสาเข็มขนาดสั้น 2 ท่อนมาเชื่อมต่อกันได้เพื่อความ สะดวกในการ ตอกหรือความสะดวกในการขนส่ง ทั้งนี้ เสาเข็มที่นำมาเชื่อมต่อกันจะต้องมีลักษณะ และขนาดของพื้นที่หน้าตัดเหมือนกัน กรรมวิธีในการตอกคือจะทำการตอกเสาท่อนแรกลงไปใน ดินจนเกือบมิดก่อนแล้วใช้ปั้นจั่นดึงเสาท่อนที่สองขึ้นมาจรดกับเสาท่อนแรกในแนวตรง แล้วทำการ เชื่อมเหล็กที่ขอบเสาตรงรอยต่อให้ติดกัน การเชื่อมจะต้องเชื่อมอย่างประณีตโดยรอบให้เสาทั้ง 2 ท่อนต่อกันอย่างสนิทและเป็นแนวเส้นตรง จากนั้นจึงใช้ปั้นจั่นตอกลงไปต่อ
3. การตอกเสาเข็มให้ลึกถึงระดับ การจะดูการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดเสร็จสิ้นเรียบ ร้อยได้ผล ตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปใน ดินเท่านั้น แต่จะต้องดู จำนวนครั้งในการตอกด้วย ( blow count ) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้ จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็ม จม มิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดิน ที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยัง ไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะ เป็นไปตามที่กำหนด
ในทางตรงกันข้าม ถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้น จะยังจมไม่ มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็ม แต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัด และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ
 
หน้า 1 หน้า 2 หน้า 3 หน้า 4

หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ก่อสร้าง | ซ่อมบ้าน| เปอร์สเปคทีฟ | ตกแต่งภายใน | ควบคุมงาน | สมาชิก | ผลงาน | เว็บบอร์ด | ถาม - ตอบ
พันธมิตรธุรกิจ | แบบบ้าน | Auction loan | ให้คำปรึกษา | บทความ | วิจัยและพัฒนา | ห้องสมุด | ติดต่อเรา | แผนผังเว็บไซต์

  ทะเบียนกรมพานิชย์ธุรกิจเลขที่ 0107514703428 © copyright 2005 by srangbaan.com