พัฒนาการมาจากกลุ่ม วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร นักออกแบบ
จัดสวน ตลอด จนผู้รับเหมา ก่อสร้าง ทุกระบบ ที่มีประสบการณ
์การทำงานกว่า 20 ปี มีจุดมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการก่อสร้างบ้าน
ให้ครอบ คลุมทั่วประเทศ ไทย โดยการใช้ระบบ เครือข่าย
อินเตอร์เนตมาประกอบการปฏิบัติงานซึ่งหมายถึงการทำงานด้าน
เทคนิคทุกด้าน เช่น การออกแบบ , การ ควบคุมงาน ภาคสนาม , การบริหารงานก่อสร้าง,การจัดส่งวัสดุ ตลอดจน การประสาน
งานกับเจ้าของงานผ่านระบบอินเตอร์เนตแทบทั้งสิ้นอันเป็น
ผลทำ ให้การ ดำเนินงาน มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้นตลอดเวลา
>>>>>>>>>>>>>>>>   

สมาชิก
user :
pass :
   
สมัครสมาชิกใหม่ที่นี้
user or password ผิด ";}?>
ยินดีต้อนรับ
คุณ
เมนูส่วนตัว
ดูข้อมูลส่วนตัว
แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
ออกจากระบบ

Menu
เกี่ยวกับเรา
ก่อสร้าง
ซ่อมบ้าน
เปอร์สเปคทีฟ
ตกแต่งภายใน
ควบคุมงาน
ผลงาน
เว็บบอร์ด
ถาม - ตอบ
พันธมิตรธุรกิจ
แบบบ้าน
Auction loan
ให้คำปรึกษา
บทความ
วิจัยและพัฒนา
ห้องสมุด
แผนผังเว็บไซต์
ติดต่อเรา
 

Link
หนังสือพิมพ์
ธนาคาร
ส่วนราชการ

จำนวนผู้เยี่ยมชม

ตั้งแต่ 01/01/2544

ห้องสมุด
 
โครงสร้างของฐานราก

 

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเป็นเสาเข็มที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับอาคารพานิชย์และบ้านพักอาศัยทั่วไป เป็นเสาคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็วและโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูง กรรมวิธีที่ใช้ในการลงเสาเข็มจะเป็นการตอกกระแทกลงไปในดินโดยใช้ปั้นจั่นซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนและประหยัดค่าใช้จ่าย
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงสามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกตามรูปร่างลักษณะของเสาเข็ม ที่ใช้กัน แพร่หลาย ได้แก่
1. เสาเข็มรูปตัวไอ
2. เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
3. เสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง
4. เสาเข็มรูปตัวที
ชนิดเสาเข็มที่ใช้สำหรับรับน้ำหนักของตัวบ้านโดยทั่วไปจะเป็นเสาเข็ม รูปตัวไอ ส่วนขนาดและ ความยาวนั้นขึ้นอยู่กับวิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวง หรือเสาเข็มรูปตัวทีนั้นมักจะใช้กับงานโครงสร้างที่เล็กกว่าหรือการรับน้ำหนักน้อยกว่า เช่น งานฐานราก ของรั้ว
เสาเข็มเจาะ
สาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มอีกประเภทหนึ่งซึ่งแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในลักษณะของการใช้ งาน กรรมวิธีในการทำเสาเข็มเจาะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน และจะต้องทำ ณ สถานที่ที่จะใช้งานจริงเลย โดยใช้เครื่องมือเจาะขุดดินลงไปให้ได้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางและความลึกของเสาเข็มตามที่กำหนดจาก นั้นจึงจะใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม
เสาเข็มเจาะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามขนาดของเสาเข็มและกรรมวิธีที่ใช้ อันได้แก่
1. เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ( small diameter bored pile )
ป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35-60 เซนติเมตร ( ส่วนใหญ่จะเป็น ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 35, 40, 50, 60 เซนติเมตร ) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นแบบแห้ง ( dry process ) ซึ่งเป็นการขุดเจาะโดยใช้เครื่องมือขุดเจาะ ลงไปตามธรรมดา
2. เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ ( large diameter bored pile )
เป็นเสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 60 เซนติเมตรขึ้นไป ( ส่วนใหญ่จะมี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80, 100, 120, 150 เซนติเมตร ) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 25-65 เมตร กรรมวิธีที่ในการเจาะมักจะเป็นระบบเปียก ( wet process ) ซึ่งแตกต่างจากระบบแห้ง คือจะต้องเพิ่ม ขั้นตอนในการฉีดสารเคมีเหลวซึ่งเรียกว่า Bentonite slurry ลงไปในหลุมที่ทำการขุดเจาะ โดยเฉพาะ หลุมที่มีความลึกมากๆถึงชั้นทรายหรือหลุมที่มีน้ำใต้ดิน ทั้งนี้ เพื่อสร้างแรงดันในหลุมที่เจาะและยึดประ สานผิวดินในหลุมเพื่อป้องกันมิให้ผนังหลุมที่เจาะพังทลายลงมา

 
หน้า 1 หน้า 2 หน้า 3 หน้า 4

หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ก่อสร้าง | ซ่อมบ้าน| เปอร์สเปคทีฟ | ตกแต่งภายใน | ควบคุมงาน | สมาชิก | ผลงาน | เว็บบอร์ด | ถาม - ตอบ
พันธมิตรธุรกิจ | แบบบ้าน | Auction loan | ให้คำปรึกษา | บทความ | วิจัยและพัฒนา | ห้องสมุด | ติดต่อเรา | แผนผังเว็บไซต์

  ทะเบียนกรมพานิชย์ธุรกิจเลขที่ 0107514703428 © copyright 2005 by srangbaan.com