พัฒนาการมาจากกลุ่ม วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร นักออกแบบ
จัดสวน ตลอด จนผู้รับเหมา ก่อสร้าง ทุกระบบ ที่มีประสบการณ
์การทำงานกว่า 20 ปี มีจุดมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการก่อสร้างบ้าน
ให้ครอบ คลุมทั่วประเทศ ไทย โดยการใช้ระบบ เครือข่าย
อินเตอร์เนตมาประกอบการปฏิบัติงานซึ่งหมายถึงการทำงานด้าน
เทคนิคทุกด้าน เช่น การออกแบบ , การ ควบคุมงาน ภาคสนาม , การบริหารงานก่อสร้าง,การจัดส่งวัสดุ ตลอดจน การประสาน
งานกับเจ้าของงานผ่านระบบอินเตอร์เนตแทบทั้งสิ้นอันเป็น
ผลทำ ให้การ ดำเนินงาน มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้นตลอดเวลา
>>>>>>>>>>>>>>>>   

สมาชิก
user :
pass :
   
สมัครสมาชิกใหม่ที่นี้
user or password ผิด ";}?>
ยินดีต้อนรับ
คุณ
เมนูส่วนตัว
ดูข้อมูลส่วนตัว
แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
ออกจากระบบ

Menu
เกี่ยวกับเรา
ก่อสร้าง
ซ่อมบ้าน
เปอร์สเปคทีฟ
ตกแต่งภายใน
ควบคุมงาน
ผลงาน
เว็บบอร์ด
ถาม - ตอบ
พันธมิตรธุรกิจ
แบบบ้าน
Auction loan
ให้คำปรึกษา
บทความ
วิจัยและพัฒนา
ห้องสมุด
แผนผังเว็บไซต์
ติดต่อเรา
 

Link
หนังสือพิมพ์
ธนาคาร
ส่วนราชการ

จำนวนผู้เยี่ยมชม

ตั้งแต่ 01/01/2544

ห้องสมุด
 
โครงสร้างของหลังคา

 

ข้อสังเกตเกี่ยวกับกระเบื้องมุงหลังคาและการมุงหลังคา
1. กระเบื้องที่ใช้มุงหลังคาจะต้องอยู่ในสภาพที่ดีไม่มีรอยแตกหักหรือชำรุดอันอาจเป็นสาเหตุให้ เกิดการรั่วซึมได้ในภายหลัง
2. การผูกยึดแผ่นกระเบื้องเข้ากับโครงหลังคาจะต้องทำให้ครบถ้วนตามหลักเพื่อให้การเกาะยึด ของ แผ่นกระเบื้องมีความมั่นคง เรื่องนี้ถ้าเป็นไปได้ควรหาโอกาสสอบถามหรือพูดคุยกับผู้ควบคุมงานหรือ ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการมุงหลังคาเพราะบางครั้งการผูกยึดกระเบื้องคอนกรีตหรือกระเบื้องโมเนีย อาจทำการ ผูกยึดเป็นแนวสลับแนวเพื่อให้สามารถถอดกระเบื้องออกได้ในภายหลังเวลาที่ต้องการเปลี่ยนหรือซ่อมแซม แต่ ถ้าเป็นหลังคาที่มีความชันมากเกินกว่า 45 องศา อาจจำเป็นต้องผูกยึดทุกแนวเพื่อป้องกันไม่ให้กระเบื้อง เลื่อนหล่นลงมาเป็นต้น
3. การวางแนวกระเบื้องควรจะวางเป็นแนวตรงสวยงามไม่คดเป็นงูเลี้อยซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้กระ เบื้องแตกชำรุดได้ง่าย เนื่องจากการวางซ้อนกันไม่สนิททำให้กระเบื้องแต่ละแผ่นขาดความสมดุลใน การกระจายน้ำหนัก สำหรับกระเบื้องคอนกรีตหรือกระเบื้องโมเนียการวางกระเบื้องในแต่ละแถวที่อยู่ติด กันควร จะสลับแนวรอยต่อกันเพื่อป้องกันมิให้น้ำฝนไหลซึมเข้าตามร่องได้โดยง่ายและความชันของหลังคา ที่มุงด้วยกระเบื้องชนิดนี้ไม่ควรต่ำกว่า 20 องศาโดยมีระยะทับซ้อนของกระเบื้องแผ่นบนและล่างอยู่ในช่วง 7-10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนไหลย้อนขึ้นตามร่องที่กระเบื้องวางซ้อนกัน
4. ในกรณีที่เป็นกระเบื้องคอนกรีตจะต้องมีการก่อปูนทรายเพื่อครอบรอยต่อของหลังคาตามแนว สันของหลังคา การครอบกระเบื้องตามรอยต่อจะต้องทำอย่างประณีต เพราะจุดเหล่านี้จะเป็นจุดอ่อน ถ้าทำไม่ดีหรือมีรอยแตกจะทำให้น้ำฝนรั่วไหลลงไปได้ และการซ่อมแซมก็มักจะทำได้ลำบากเนื่องจากอยู่ ในที่สูง นอกจากนี้ การปีนขึ้นไปซ่อมหลังคาบางจุด ถ้าช่างซ่อมขาดความระมัดระวังหรือไม่ชำนาญพอก็ อาจทำให้หลังคาจุดอื่นแตกชำรุดได้อีก
5. หลังคาที่อยู่ส่วนชั้นบนสุดจะเป็นส่วนที่ถูกแสงแดดมากและเกิดความร้อนภายในห้องตรงบริเวณ ที่หลังคานั้นครอบคลุมอยู่ หากต้องการใช้วัสดุกันความร้อนเพื่อลดความร้อนดังกล่าวก็ควรจะปรึกษากับผู้ ออกแบบหรือกับผู้รับเหมาและระบุไว้ตั้งแต่แรก เพราะวัสดุป้องกันความร้อนบางชนิดจะต้องปูแนบกับตัวกระเบื้องมุงหลังคาเพื่อที่ช่างมุงหลังคาจะได้ปูวัสดุป้องกันความร้อนไปพร้อม ๆ กันกับขั้นตอนของการมุงหลัง คาเลยทีเดียว ไม่ต้องหาวิธีแก้ไขในภายหลัง
6. ในกรณีที่ใช้กระเบื้องลอนคู่หรือกระเบื้องลูกฟูกลอนเล็กมุงหลังคา การเรียงต่อของแผ่นกระ เบื้องตรงแนวลอนจะต้องทาบลอนซ้อนกัน ถ้าเป็นไปได้ก่อนการมุงกระเบื้องควรจะดูทิศทางของลมฝนก่อน เวลามุงกระเบื้องจะได้ซ้อนกระเบื้องตรงแนวลอนได้ถูกทิศทาง โดยให้แผ่นที่ซ้อนทับลอนด้านบนอยู่เหนือ ลมฝนเพื่อป้องกันมิให้ฝนสาดเข้าตรงรอยต่อดังกล่าว และหลังคาที่มุงด้วยกระเบื้องชนิดนี้ควรมีความชันไม่ น้อยกว่า 10 องศา เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนไหลย้อนขึ้นตามร่องกระเบื้องที่วางซ้อนกัน
 
หน้า 1 หน้า 2 หน้า 3

หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ก่อสร้าง | ซ่อมบ้าน| เปอร์สเปคทีฟ | ตกแต่งภายใน | ควบคุมงาน | สมาชิก | ผลงาน | เว็บบอร์ด | ถาม - ตอบ
พันธมิตรธุรกิจ | แบบบ้าน | Auction loan | ให้คำปรึกษา | บทความ | วิจัยและพัฒนา | ห้องสมุด | ติดต่อเรา | แผนผังเว็บไซต์

  ทะเบียนกรมพานิชย์ธุรกิจเลขที่ 0107514703428 © copyright 2005 by srangbaan.com