พัฒนาการมาจากกลุ่ม วิศวกร สถาปนิก มัณฑนากร นักออกแบบ
จัดสวน ตลอด จนผู้รับเหมา ก่อสร้าง ทุกระบบ ที่มีประสบการณ
์การทำงานกว่า 20 ปี มีจุดมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการก่อสร้างบ้าน
ให้ครอบ คลุมทั่วประเทศ ไทย โดยการใช้ระบบ เครือข่าย
อินเตอร์เนตมาประกอบการปฏิบัติงานซึ่งหมายถึงการทำงานด้าน
เทคนิคทุกด้าน เช่น การออกแบบ , การ ควบคุมงาน ภาคสนาม , การบริหารงานก่อสร้าง,การจัดส่งวัสดุ ตลอดจน การประสาน
งานกับเจ้าของงานผ่านระบบอินเตอร์เนตแทบทั้งสิ้นอันเป็น
ผลทำ ให้การ ดำเนินงาน มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้นตลอดเวลา
>>>>>>>>>>>>>>>>   

สมาชิก
user :
pass :
   
สมัครสมาชิกใหม่ที่นี้
user or password ผิด ";}?>
ยินดีต้อนรับ
คุณ
เมนูส่วนตัว
ดูข้อมูลส่วนตัว
แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
ออกจากระบบ

Menu
เกี่ยวกับเรา
ก่อสร้าง
ซ่อมบ้าน
เปอร์สเปคทีฟ
ตกแต่งภายใน
ควบคุมงาน
ผลงาน
เว็บบอร์ด
ถาม - ตอบ
พันธมิตรธุรกิจ
แบบบ้าน
Auction loan
ให้คำปรึกษา
บทความ
วิจัยและพัฒนา
ห้องสมุด
แผนผังเว็บไซต์
ติดต่อเรา
 

Link
หนังสือพิมพ์
ธนาคาร
ส่วนราชการ

จำนวนผู้เยี่ยมชม

ตั้งแต่ 01/01/2544

ห้องสมุด
 
ระบบไฟฟ้า 3 เเฟสเพื่อการประหยัดค่าไฟฟ้า

 

เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจและมองเห็นภาพในการแปลงระบบไฟฟ้า 3 เฟสให้เป็นระบบ ไฟฟ้าเฟสเดียวได้ชัดเจนยิ่งขึ้นขอให้ดูภาพประกอบ
จากภาพจะเป็นการนำเอาระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สายเข้ามาใช้โดยเป็นสายที่มีกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านอยู่ 3 สาย และเป็นสายที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ 1 สาย จากนั้นจะมีการแบ่งแยก ออกเป็น 3 สายคู่เพื่อนำไปแยกใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ในระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย
การนำระบบไฟฟ้า 3 เฟสมาใช้นั้นจะเสียค่าใช้จ่ายในตอนต้นค่อนข้างสูง เช่น ค่าติดตั้ง ค่าประกันการใช้ไฟฟ้า แต่สามารถประหยัดค่าใช้ไฟฟ้าได้ในระยะยาวฉะนั้นบ้านหรืออาคารที่ติดตั้ง ระบบไฟฟ้าดังกล่าวจึงควรเป็นบ้านหรืออาคารที่ค่อนข้างใหญ่ มีการใช้ไฟฟ้าหลายจุดและเป็นปริมาณ มากจึงจะคุ้ม ถ้าเป็นบ้านหรืออาคารที่มีขนาดเล็กและมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าไม่มากควรติดตั้งระบบ ไฟฟ้าเฟสเดียวก็เพียงพอ
อย่างไรก็ตาม การเลือกว่าจะใช้ไฟฟ้าระบบไหนและใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาดเท่าใดนั้นจำเป็น จะต้องปรึกษาผู้มีความรู้ทางด้านนี้โดยตรง ซึ่งอาจจะเป็นวิศวกรไฟฟ้า ผู้รับเหมา หรือช่างไฟฟ้า โดยที่เจ้าของบ้านเองก็ต้องวางแผนเกี่ยวกับปริมาณไฟฟ้าที่ต้องใช้เอาไว้ว่าต้องการใช้ไฟฟ้ามากน้อย แค่ไหน โดยอาจจะปริมาณจากจำนวนดวงไฟ รวมทั้งประเภทและจำนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่คาดว่าต้องการจะใช้ เพื่อ จะได้เลือกระบบไฟฟ้าและขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะติดตั้งได้อย่างถูก ต้องเหมาะสม
โดยปกติขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าที่จะขอติดตั้งได้จะมีขนาด 5(15) , 15(45) ,30(100) และ 50(150) แอมแปร์ ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้าเฟสเดียว ตัวเลขที่อยู่ด้านซ้ายนอกวงเล็บหมายถึงกระแส ไฟฟ้าปกติสำหรับการใช้งานของระบบไฟฟ้าขนาดนั้นๆ ส่วนตัวเลขด้านขวาที่อยู่ภายในวงเล็บ หมายถึงกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ระบบไฟฟ้าสามารถทนได้ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) แอมแปร์ หมายความว่าขนาดของระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้สามารถรองรับการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดย รวมได้ 15 แอมแปร์อย่างปลอดภัยภายใต้สภาวะการใช้งานตามปกติ แต่จะสามารถทนกระแส ไฟฟ้าสูงสุดได้ถึง 45 แอมแปร์ในบางครั้งบางคราวเป็นระยะเวลาสั้นๆ เช่น ในขณะที่เปิดเครื่อง ปรับอากาศใหม่ๆ เครื่องปรับอากาศจะกินกระแสไฟฟ้ามากกว่าปกติ ถึงแม้ว่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้โดย รวมในช่วงเวลานั้นอาจจะสูงเกินกว่าระดับปกติบ้าง แต่ถ้าเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็จะไม่ก่อให้เกิด ปัญหาต่อระบบไฟฟ้าหรือการใช้ไฟฟ้าแต่ประการใด โดยปกติถ้าเป็นบ้านขนาดเล็กที่มีการติดตั้ง ดวงไฟและปลั๊กไฟเพียงไม่กี่จุดอาจใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาดแค่ 15(15) แอมแปร์ก็เพียงพอ ถ้ามี เครื่องปรับอากาศ 1-2 เครื่องก็อาจใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) แอมแปร์ แต่ถ้าเป็นบ้านที่มีการ ใช้ไฟฟ้ามาก เช่น มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศหลายเครื่องก็อาจจะต้องใช้ มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 50(150) แอมแปร์ หรือบ้านที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นไปอีกก็ควรจะพิจารณาขอติดตั้งระบบ ไฟฟ้า 3 เฟส ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำให้ได้ไฟฟ้าที่มีขนาดเป็น 3 เท่าของไฟฟ้าระบบเฟสเดียวตาม ขนาดตัวเลขแอมแปร์ข้างต้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเทียบเท่ากับได้ระบบไฟฟ้าเฟสเดียวตามขนาดตัว เลขแอมแปร์ข้างต้นเป็นจำนวน 3 ชุดนั่นเอง เช่น ถ้าติดตั้งระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 30(100) แอมแปร์ 380 โวลต์ 1 ชุด ก็เทียบเท่ากับติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย 30(100) แอมแปร์ 220 โวลต์ 3 ชุดนั่นเอง
 
 
 
 

หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ก่อสร้าง | ซ่อมบ้าน| เปอร์สเปคทีฟ | ตกแต่งภายใน | ควบคุมงาน | สมาชิก | ผลงาน | เว็บบอร์ด | ถาม - ตอบ
พันธมิตรธุรกิจ | แบบบ้าน | Auction loan | ให้คำปรึกษา | บทความ | วิจัยและพัฒนา | ห้องสมุด | ติดต่อเรา | แผนผังเว็บไซต์

  ทะเบียนกรมพานิชย์ธุรกิจเลขที่ 0107514703428 © copyright 2005 by srangbaan.com